หากคุณไม่อยากจ้างคนอื่นให้เสียเิงิน “อ่านบทความนี้ไม่เกิน 30 นาที คุณก็จะมีพื้นฐานของการทำ SEO ได้เช่นกัน” บทความนี้สำหรับผู้เริ่มต้น ไม่แน่คุณอาจจะทำให้เว็บมีอันดับที่สูงขึ้นและมีการแปลงได้อย่างมี ประสิทธิภาพก็เป็นได้.
Keyword Research
การวิเคราะห์วิจัยค้นหา Keyword ก่อนทำ ก่อนที่จะเริ่มเขียนเนื้อหาของคุณคุณควรหาข้อมูลของ keyword นั้นๆก่อนว่ามีคู่แข่งมากน้อยเพียงใด (ความเป็นไปได้ของการจัดอันดับ) คุณอาจจลดเวลาด้วยการหาเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์ก็ได้เช่นกัน การวิเคราะห์ค้นหาข้อมูลก่อน รับทำ SEO มีวัตถุประสงค์หลายประการเช่น
1.ประเมินคู่แข่งว่ามีเว็บไหนแข็งแกร่งหรือว่าเป็นเจ้าถิ่นของ Keyword นั้นๆอยู่หรือไม่
2.ความเป็นไปได้ที่เราจะทำ Keyword นั้นติดหน้าแรกหรือไม่
3.ระยะเวลาในการทำที่เหมาะสมกับ Keyword
4.วิเคราะห์หา Keyword ที่สอดคล้องหรือใกล้เคียงกันเพื่อความรวดเร็วและง่ายในการทำ SEO
HTML Title Tag
ใช้ประโยชน์สูงสุดจากแท็ก HTML แท็ก title คือแท็กที่จะปรากฏในส่วนหัวเว็บ HTML ของคุณจะถูกกำหนดข้อความที่จะปรากฏในแท็บเบราเซอร์ที่หน้าเว็บของคุณมี การโหลดและยังทำหน้าที่ เป็นข้อความ Keyword สำหรับรายการเครื่องมือค้นหาของคุณ.(ปัจจุบันให้ึความนิยมปรับแต่งในส่วน Title นี้มากเช่นกัน)
1.ในการใส่ Tag ที่ Title ไม่ควรใส่ซ้ำกัน เพราะจะทำให้เป็นการ Duplicate Title
2.ข้อความใน Tag ชื่อจะต้องไม่เกิน 65 ตัวอักษรทั้งหมด เหตุผลที่จำกัดนี้เป็นเพราะหลังจากที่ 65 ตัวอักษร Google จะตัดข้อความและท้าย ellipsis (…) ที่สิ้นสุด.
3. ตั้งชื่อ Title ให้เป็น keyword และสอดคล้องกับเนื้อหาของหน้านั้นๆเพื่อส่งผลการจัดอันดับ SERPs ในการค้นหา
ตัวอย่าง Title Tag
<title> SEO : Search Engine Optimization สำหรับผู้เริ่มต้น</title>
Optimize Meta Tags
เพิ่มประสิทธิภาพ Tags meta ของคุณ สิ่งที่จะบอกต่อไปนี้มันคือส่วนที่รองมาจาก Title tag นั่นก็คือ Meta Description และั Meta Keyword นั่นเองหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า Google ไม่สนใจ Meta Description และั Meta Keyword อันนี้มันก็ถูกครับ แต่คุณลองคิดดูสิว่า Search Engine ทั่วโลกมีเป็นหมื่นๆแสนๆเจ้า เราต้องทำให้มันรองรับ Robots เจ้าอื่นๆด้วยอย่าเอาแต่ Google เป็นหลัก ทำถูกต้องเขียน Tag ให้ครบมันก็เป็นการดีที่ต้องมีไว้ครับ
Meta Description
คือป้ายคำอธิบาย meta มีหน้าที่คล้ายเป็นป้ายชื่อในการที่จะแสดงในรายการเครื่องมือค้นหา จะปรากฏทางขวาใต้ข้อความลิงค์ที่เป็นคำอธิบายของลิงค์ ความยาวสูงสุดของคำอธิบาย meta ควรไม่เกิน 150 ตัวอักษร ะตัดข้อความและท้าย ellipsis (…) ที่สิ้นสุด. เหมือน Title tag นั่นเอง
Meta Description จะไม่ปรากฏบนหน้าเว้บให้เห็นแต่จะแสดงให้เห็นที่หน้าผลการค้นหาซึ่งประโยค หรือวลีในการเขียนนั้นต้องเป็นคำอธิบายข้อดีหรือจุดเด่นของเว็บคุณว่ามีอะไร บ้าง แต่ไม่ควรใช้คำอธิบายที่เกินจริงเพราะหากผู้ชมเข้ามาแล้วไม่มีข้อมูลตามที่ เขียนไว้ จะทำให้คนนั้นรู้สึกผิดหวังและอาจจะไม่เข้ามาเว็บคุณอีกเลย
ตัวอย่าง Meta Description
<meta name="description" content="แหล่งรวมข้อมูล รับทำ SEO Blog Blogs บล็อก Blog SEO สนับสนุนทุกคนมีความรู้" />
Meta Keywords
Meta Keywords ไม่ใช่คำที่สำคัญสำหรับ Google เพราะ Google ไม่ได้ใช้ แท็ก meta Keywords นี้ แต่ Search Engine ตัวอื่นๆใช้อยู่นะครับ และในการพิจารณาของ PageRank ก็เช่นกัน Google ไม่ได้เอาตรงส่วนนี้ไปคิดแต่จะคิดในส่วนอื่นๆเช่น ลิ้งค์ หรือเว็บที่มีคุณภาพ ในการใส่ Keywords แต่ละคำควรจะใส่จุลภาค(,) คั่นด้วยช่องว่างแต่คุณสามารถมีช่องว่างในประโยคคำนั้นได้ (อย่าลืม Meta Keywords ต้องมี S ด้วยนะครับ Keywords )
ตัวอย่าง Meta Keywords
<meta name="Keywords" content="ทริปเด็ด SEO, รับทำ, SEO, Blog, Blogs, บล็อก, Blog SEO" />
HTML Links
เว็บมาสเตอร์หลายท่านยังเข้าใจผิดการสร้างลิงค์นาวิเกตหรือเมนูด้วยการใช้ JavaScript และ Flash เพื่อความสวยงาม แต่นั่นจะ่ำทำให้ Robots ค้นหาไม่เจอ คุณควรใช้ HTML ธรรมดาสร้างเมนูหรือนาวิเกตจะดีกว่าครับเพราะ Robots หรือเครื่องมือค้นหาจะไม่รัน JavaScript ดังนั้นหากวิธีเดียวที่จะไปหน้านั้นผ่านลิงค์ JavaScript ต้องใช้ลิงค์ HTML ในทุกสถานการณ์ใช้ลิงค์ HTML หรือข้อความที่เป็น HTML เป็นทางออกที่ดีที่สุด..
Same site link หรือ Anchor Text
คำที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆจะเป็น Anchor Text หรือลิ้งค์ที่มีการเชื่อโยงกันภายในโดเมนเดียวกันนั่นเอง อาจจะเป็นบทความที่เกี่ยวข้องกันแล้วก็ใส่ลิ้งค์โยงไปโยงมาเหมือนใยแมงมุม การใช้ Anchor Text นี้ถือว่าได้รับประโยชน์มากเพราะ Robots ให้ความสำัคัญมาก
ดังนั้นในการใช้ Anchor Text ไม่ควรใส่ คลิ้กที่นี่ ดูต่อที่นี่ ควรใช้เป็น keyword ชี้ลิ้งค์ไปหา keyword นั้นเลยจะทำให้ Robots วิ่งไปเก็บข้อมูลที่ลิ้งค์นั้นด้วยเช่นกัน ลิ้งค์ทุกลิ้งค์ทั้งภายนอกและภายในจะถูกนับเป็นคะแนนในการใช้จัดอันดับและ การคำนวณเป็น PageRank ดังนั้นคุณควรปรับโครงสร้างลิ้งค์ให้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อกันกับเืนื้อหา หรือบทความนั้นจริงๆเพื่อส่งผลให้ SERPs ที่ดีขึ้น
XML Sitemaps
การทำ Sitemaps นั้นก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ให้ Robots เข้ามา Craw เก็บข้อมูลไปทำดัชนีหรือ indexed ในการค้นหา ซึ่งเทคนิกที่ผมนำมาใช้นั้นคือการ Gen sitemap แบบอัตโนมัติ สำหรับท่านใดที่ใช้ CMS เช่น WordPress, Drupal หรือ Joomla และตัวอื่นๆนั้นมีระบบนี้รองรับอยู่แล้วหา plugin มาลงเสริมก็ใช้งานได้เช่นกัน สำหรับใครที่ทำเว็บเองหรือเขียนโปรแกรมเองนั้นสามารถนำหลักการนี้ไปใช้ได้ ผมเขียนเอาไว้ให้แล้วเป็นหลักการที่นำไปปฏิบัตรได้จริง(เพราะปัจจุบันมีการ ใช้งานอยู่) วิธีการเขียน GOOXML Sitemap Generator แบบ Auto
เมื่อคุณสร้าง Sitemap ชื่อจะได้ประมาณนี้ sitemap.xml หรืออะไรก็แล้วแต่ให้มันเป็น .xml และ .xml.gz ให้ทำการอัปโหลดไปยังไดเรกทอรี root นอกสุดโฮสติ้งของคุณ. สำหรับ Google คุณจะต้องลงทะเบียนบัญชี Google ฟรี Google Webmaster Tools และส่ง Sitemap ของคุณมี หากต้องการส่ง Sitemap ของ Yahoo จะกระทำผ่านทาง Yahoo Site Explorer และคุณสามารถส่ง Sitemap การ Bing ผ่าน Webmaster account ของผู้ให้บริการแต่ล่ะเจ้าตามข้อตกลงเค้านะครับ
Fix Site Errors
แก้ไขข้อผิดพลาดเว็บไซต์นั้นสามารถตรวจสอบได้ที่ Google Webmaster Tools เพราะในนั้นจะมีการรายงานเพียบ เช่น Top search queries, Crawl errors และ Crawl Stats ซึ่งเราสามารถ Fix error จาก Tools ฟรีๆของ Google ได้เพราะถ้าหากลด 404 Not found ลงได้จะทำให้เว็บเรานั้นไม่มีลิ้งค์เสียและจะช่วยทำให้เว็บเรานั้นมีคุณภาพ มากยิ่งขึ้น หากต้องการคุณภาพกว่านี้อีกให้ทำการ validator ที่ W3C ได้เลยครับ fix ไม่ให้ Code มี error จะช่วยให้เว็บไฟล์ของเว็บเราลดน้อยลงถูกหลัก W3C จะทำให้ Robots เข้ามา Craw เก็บข้อมูลได้รวดเร้วยิ่งขึ้น (ผมเคยทดสอบแล้วนะครับทำขึ้นมา 2 เว็บ 1 เว็บที่ถูกหลัก W3C และอีก 1เว็บที่ไม่ถูกหลัก ดูอัตราการเข้ามาต่างกันเยอะมากๆ จะเห็นได้ในทราฟฟิกที่คนเข้าเป็นหลักแสนๆ UIP และ Server จะทำงานต่างกันมากครับ สำหรับเว็บที่คนเข้าไม่เยอะไม่ทำก็ไม่เห็นผลหรอกครับต้องมีความพยายามต่อไป
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น